Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช
Description
พิพิธภัณฑ์ศิริราช...มีมากกว่าที่คุณคิด พิพิธภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลศิริราชเริ่มมาจากการเก็บและ จัดแสดงสิ่งของของแต่ละภาควิชา โดยในปีพ.ศ. 2525 มี พิพิธภัณฑ์ที่เปิดรวม 13 แห่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปพิพิธภัณฑ์ คงเหลือเพียง 6 แห่งที่สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มี โอกาสเข้าเยี่ยมชม เป็นแหล่งเรียนรู้ และคลังวัตถุทรงคุณค่า จัดตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาล ประกอบด้วย
1. พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส
2. พิพิธภัณฑ์นิติเวชวิทยา สงกรานต์ นิยมเสน
3. พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา
4. พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน
5. พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการสุด แสงวิเชียร
ทั้งหมด เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กในลักษณะ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ (Medical Museum)
กระทั่ง พ.ศ. 2547 เมื่อคณะแพทยศาสตร์ฯ เข้าใช้พื้นที่ 33 ไร่ ที่ได้รับมอบจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างศูนย์การแพทย์สยามินทราธิราช และอาคารประกอบอื่นๆ ส่วนกลุ่มอาคารอนุรักษ์สถานีรถไฟ บางกอกน้อย จำนวน 4 หลัง ได้ทำการปรับปรุง ซ่อมแซม แล้วทำเป็นพิพิธภัณฑ์ “ศิริราชพิมุขสถาน” เพื่อจัดแสดงงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ของพื้นที่โรงพยาบาลในปัจจุบัน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ ลำดับที่ 6 ของศิริราช
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานแห่งนี้ ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ทันสมัย ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ควบคุมทั้งสื่อนำเสนอและระบบการเข้าชม สามารถรองรับการเยี่ยมชมได้อย่างต่อเนื่องทั้งแบบ หมู่คณะคราวละหลายร้อยคน หรือผู้สนใจที่มาตามลำพัง
ขณะนี้ พิพิธภัณฑ์ฯ พร้อมที่จะเปิดให้ นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมแล้ว
Tell your friends
RECENT FACEBOOK POSTS
facebook.comPhotos from Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช's post
ตึกชัยนาทนเรนทรานุสรณ์...ตึกผู้ป่วยนอกในอดีต “ตึกชัยนาทนเรนทรานุสรณ์” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่ทรงมีต่อการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขของประเทศไทย แต่เดิมตึกหลังนี้ คือ “ตึกผู้ป่วยนอก หรือแผนกตรวจรักษาผู้ป่วยนอก” ของโรงพยาบาลศิริราช เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้แผนกผู้ป่วยนอกที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ห้องตรวจโรคนอก บริเวณชั้นล่างของตึกอำนวยการ แออัด คับแคบ รัฐบาลในยุคนั้นจึงพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดสร้างตึกใหม่ เป็นตึก 3 ชั้น รูปตัวแอล ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับท่าเรือของโรงพยาบาล ขนานไปกับถนนจักรพงษ์ ตรงข้ามกับตึกอำนวยการ ตึกแห่งนี้กว้างขวางพอที่จะสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 1,000 คน เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2496 ชั้นล่างมีโถงกว้างสำหรับผู้ป่วยนั่งรอ ห้องแพทย์เวร ห้องฉุกเฉิน ห้องเวชระเบียน ห้องจ่ายยา ห้องตรวจผู้ป่วยอายุรศาสตร์ ห้องตรวจผู้ป่วยศัลยศาสตร์ และห้องผ่าตัดเล็ก และมีลิฟต์ลูกกรงปิดสำหรับบริการผู้ป่วย ชั้น 2 เป็นห้องตรวจผู้ป่วยสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ห้องตรวจผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์ ห้องสวัสดิการนักศึกษา ส่วนชั้น 3 เป็นห้องตรวจผู้ป่วยจักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ห้องลองแว่น ห้องเอกซเรย์ และห้องทันตกรรม เพียง 3 ปีที่เปิดใช้งาน พื้นที่ก็ถูกใช้งานจนเต็มความสามารถที่จะรองรับ ยิ่งช่วงที่อหิวาตกโรคระบาดในพ.ศ.2501 ตึกผู้ป่วยนอกแห่งนี้เป็นด่านแรกที่ทำหน้าดูแลผู้ป่วย ทั้งแพทย์และพยาบาลต้องทำงานกันอย่างหนัก จนถึงขั้นต้องดัดแปลงม้านั่งรอตรวจให้เป็นเตียงนอนแทน นอกจากนี้แล้วพยาบาลที่ประจำ ณ ตึกผู้ป่วยนอก ต้องเป็นคนเก่งมาก มีปฏิภาณไหวพริบ กล้าตัดสินใจ เพราะต้องคอยรับกับสถานการณ์ต่างๆอยู่ตลอดเวลา ทั้งผู้ป่วยกินยาตาย ถูกแทง ตกน้ำตาย เป็นต้น อีกทั้งตึกผู้ป่วยนอกอยู่ใกล้กับท่าเรือของโรงพยาบาล ไม่แปลกนักที่หลายครั้งหลายคราจะเห็นพยาบาลวิ่งไปทำคลอดให้แก่ผู้ป่วยท้องแก่ในเรือจ้างบ้าง ทำคลอดบนโป๊ะเรือบ้าง นอกจากนี้แล้วเหตุการณ์ “วันมหาวิปโยค” 14 และ15 ตุลาคม พ.ศ.2516 ตึกผู้ป่วยนอกได้มีบทบาทสำคัญในการรองรับผู้บาดเจ็บในครั้งนั้น นิสิต นักศึกษาจำนวนมากข้ามฟากจากท่าพระจันทร์มาศิริราชด้วยความตื่นตระหนกและหวาดกลัว ทั้งแพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล คนงานหามเปลและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ที่เตรียมความพร้อมอยู่แล้ว ต่างระดมให้ความช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ ทั้งรับผู้บาดเจ็บ และส่งหน่วยปฐมพยาบาลไปช่วย ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกคนผลัดเปลี่ยนเวรกันตลอดคืนทั้ง 2 วัน เพื่อทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถและเพียงหวังให้ทุกคนปลอดภัย ตึกผู้ป่วยนอกริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลังนี้เปิดให้บริการแก่ประชาชนกว่า 20 ปี จนเดือนเมษายน พ.ศ.2519 ตึกผู้ป่วยนอกหลังใหม่ริมถนนอรุณอมรินทร์ก็สร้างเสร็จ ซึ่งรองรับผู้ป่วยได้ 3,000,000 รายต่อปี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ขึ้น และได้พระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา” จะแล้วเสร็จในพ.ศ.2560 ซึ่งสามารถรองรับผู้ป่วยนอกเพิ่มเป็น 3,500,000 รายต่อปี ตึกผู้ป่วยนอกหลังเก่าจึงเปลี่ยนจากด่านหน้าของโรงพยาบาล มาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา หน่วยเวชระเบียน ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีไทย ต่อมาได้มีการปรับปรุงแต่ยังคงรูปแบบตึกเดิมซึ่งมีความงามและคุณค่าทางสถาปัตยกรรมไว้ ปัจจุบันเป็นสำนักงานของหน่วยงานต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ฝ่ายนโยบายและแผน ฝ่ายการคลังฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ งานวิเทศสัมพันธ์ งานคุณธรรมและจริยธรรม งานสร้างเสริมสุขภาพ งานกิจกรรมเพื่อสังคม ข้อมูลอ้างอิง : หนังสืออนุสรณ์ 84 ปี ศิริราช หนังสือ 120 ชิ้นเอกของศิริราช หนังสือ 120 ปีศิริราช ศ.พิเศษ นพ.สรรใจ แสงวิเชียร http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=1018 https://www.facebook.com/navamindrapobitr84 #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #วันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช #ศิริราช #26เมษา #ตึกในศิริราช #ตึกชัยนาทนเรนทรานุสรณ์
Timeline Photos
ราคาพิเศษ ! เฉพาะผู้เข้าร่วมงานศิริราชเดิน-วิ่ง ผสานชุมชน ครั้งที่ 10 วันที่ 24 เม.ย. 59 ผู้ใหญ่ราคา 50 บาท เด็กราคา 20 บาท เด็กส่วนสูงไม่เกิน 120 ซม. และบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แสดงบัตรประจำตัว เข้าฟรี ! #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #ศิริราช #งานศิริราชเดินวิ่งผสานชุมชน
Photos from Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช's post
เชิญบริจาคต้นไม้ เป็นศรีแก่ฐานป้อมกำแพงพระราชวังหลัง ตามที่พิพิธภัณฑ์ศิริราช กำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ 5 เพื่อครอบฐานป้อมกำแพงพระราชวังหลัง ที่ได้ทำการอนุรักษ์แล้ว การดำเนินงาน มาถึงการจัด - ปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณ (ระหว่างศูนย์การแพทย์สยามินทราธิราช กับพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน) คณะทำงาน ได้พิจารณาคัดเลือกเลือกต้นไม้ประธาน และต้นไม้รอง จำนวน 3 ต้น ตามความเชื่ออันเป็นมงคล คุณสมบัติทางยา และมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ สรุปกันแล้วเลือกได้ 1. ต้นพยุง 2. ต้นทองหลางไทย(ทองหลางน้ำ) 3. ต้นมะเฟืองเปรี้ยว จึงเรียนมาเพื่อชักชวนให้ผู้มีความประสงค์จะบริจาคต้นไม้ทั้ง 3 ต้น 3 ชนิด แสดงความจำนง โดยถ่ายภาพต้นไม้ดังกล่าว ให้เห็นรูปทรง ความสวยงาม Post ลงในกระทู้นี้ ภายในเดือนเมษายน เพื่อคณะทำงานฯ จะได้พิจารณาดำเนินการในขั้นตอนต่อไป (หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราชเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการล้อม และขนส่ง) อนึ่ง เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ และความสวยงาม จึงขอรับต้นไม้ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว ขึ้นไป
Photos from Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช's post
ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช คุณคิดว่าโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงคนไข้มากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างโรงพยาบาลศิริราชควรมีพื้นที่รองรับขนาดเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ ในปัจจุบันพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราชมีขนาดใหญ่กว่า 100 ไร่ และมีสิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 60 อาคาร หนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่ถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดก็คือตึกต่างๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ตึกใช้รักษาผู้ป่วย ตึกประสานงานด้านการเงิน การประชาสัมพันธ์ หอพักแพทย์ พิพิธภัณฑ์ศิริราช เป็นต้น โรงพยาบาลศิริราชมีการขยายพื้นที่ใช้สอยเรื่อยมา โดยการขยายแบบต่อเติมสูงขึ้นไปในอากาศ รวมถึงสร้างเพิ่มตามช่องว่างระหว่างตึกเดิม ทำให้เกิดซอกซอยมากมายภายในโรงพยาบาลแม้เป็นเรื่องน่าวิตกในการเดินทางของผู้ที่ต้องการมาโรงพยาบาล และเรื่องอัคคีภัย แต่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ศิริราชมีไม่เหมือนใคร ภายใต้เสน่ห์นี้มีที่มาที่ทำให้ศิริราชจำเป็นต้องขยายพื้นที่ให้กว้างขวางและสร้างตึกเพิ่มขึ้น ประการแรกเนื่องมาจากนักศึกษาแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น และอีกประการคือจำนวนคนไข้ที่มีมากกว่าเดิมหลายสิบเท่าและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับตึกที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นหน้าด่านรองรับคนไข้ คือตึกตรวจโรค หรือที่รู้จักกันอีกชื่อ คือ โอ.พี.ดี ในปัจจุบันเราเรียกตึกลักษณะนี้ว่า “ตึกผู้ป่วยนอก” ย้อนไปเมื่อพ.ศ.2468 เมื่อตึกอำนวยการสร้างเสร็จด้วยทุนของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ และเงินรายได้ของโรงพยาบาลในขณะนั้น ค่าก่อสร้างรวม 194,904.94 บาท เป็นตึกหลังที่ 2 ของโรงพยาบาลใช้วิธีการก่อสร้างแบบวางรากฐานก่อนแล้วจึงสร้างส่วนบนภายหลัง โดยไม่ได้มีการคำนวณน้ำหนักโดยรวมทั้งหมดของตึกก่อน แต่จะใช้วิธีคาดคะเนจากจำนวนชั้นของตึกแทน หลักการสร้างเป็นแบบเดียวกันกับตึกศาลากายวิภาคและตึกศาลาศัลยกรรม การสร้างตึกด้วยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วทันตามกำหนดการ ส่วนข้อเสียคือมีความเสี่ยงในการคำนวณน้ำหนักด้วยไม่ได้มีการศึกษาและพิจารณาไปพร้อมกัน และมีข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไขตามมา เช่น ตึกกายวิภาคการต่อท่อแก๊สผิดกำลังดันไม่เพียงพอ ตึกอำนวยการทางเดินระเบียงมืด และห้องใต้ดินแรงดันของกระแสน้ำแรงมากทำให้รั่วซึมต้องแก้ไขอยู่บ่อยครั้งด้วยเหตุนี้ทำให้มีราคาก่อสร้างค่อนข้างสูงในการสร้างตึกทั้งสามหลังใช้เงินรวมกันกว่าครึ่งล้านบาท นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ยากลำบากที่สุดของโรงพยาบาลศิริราช และแม้จะพบกับอุปสรรคแต่ก็ถือว่าได้ใช้ประโยชน์ของตึกเหล่านี้อย่างมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตึกอำนวยการเป็นตึกที่แข็งแกร่ง มีผนังหนาประมาณ 1 ฟุต ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเครื่องบินข้าศึกเข้ามาทิ้งระเบิด แพทย์ พยาบาล และคนทั่วไปจะเข้ามาหลบภัยอยู่ตรงทางเดินกลางตึกเสมอ แต่เดิมตึกอำนวยการนี้มี 2 ชั้น ในปีพ.ศ. 2506 ได้ต่อเติมเป็นตึก 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นสำนักงานของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลตามลำดับ ในช่วงถัดมาได้ปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนพื้นที่ชั้นล่าง โดยปูกระเบื้องแปดเหลี่ยมสีแดง ฉาบปูนผนังพร้อมทาสี จนกระทั่ง ศ. นพ. ทองน่าน วิภาตะวณิช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารของศิริราชในขณะนั้น ได้เข้ามาดูแลปรับปรุงตรงผนังทางเดินชั้นล่างและบริเวณประปาพระราชทาน โดยบุผนังด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว ต่อมาปรับปรุงพื้นชั้นล่างโดยการปูพื้นใหม่ด้วยกระเบื้องเซรามิกจากประเทศเยอรมนี ผู้ออกแบบคือ อ. ไสว มงคลเกษม ในเวลานั้นเป็นราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ด้านสถาปัตยกรรม ในปีพ.ศ. 2550 ได้มีการปรับปรุงอีกครั้งโดยรื้อกระเบื้องเซรามิกออก แทนที่ด้วยพื้นหินอ่อน จัดทำโถงนิทรรศการชั้นล่างของตึก นอกจากนี้ยังมีการนำโคมไฟไปทำความสะอาดก่อนนำกลับมาประดับใหม่ การปรับปรุงครั้งหลังนี้ยังคงมีให้เห็นได้ในปัจจุบัน การใช้งานตึกอำนวยการในอดีต ชั้นล่างถูกออกแบบให้เป็นตึกตรวจโรคผู้ป่วยนอก (OPD) เตรียมไว้สำหรับตรวจผู้ป่วยนอก มีห้องตรวจอายุรกรรม ห้องตรวจชาย ห้องตรวจหญิง ห้องตรวจศัลยกรรม ห้องล้างแผล ห้องผ่าตัดเล็ก ห้องหัวหน้าแผนก ห้องตรวจตาหูคอจมูก ที่จ่ายบัตรผู้ป่วยใหม่และเก็บทะเบียนเก่า ตรงบริเวณแผนกประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน ห้องจ่ายยาและห้องชำระเงินค่ายาอยู่ตรงข้ามกับที่จ่ายบัตรผู้ป่วยใหม่ ชั้นบนเป็นที่มาของชื่อตึกอำนวยการ คือเป็นสำนักงานคณบดี สำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาล ห้องทำงานผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีห้องประชุมใหญ่ใช้เป็นสถานที่จัดพิธีประสาทปริญญาครั้งแรกของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเคยใช้เป็นห้องอ่านหนังสือของห้องสมุดคณะฯ จวบจนสร้างหอสมุดศิริราชแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 ห้องนี้จึงกลับเป็นห้องประชุมคณะฯ ตามเดิม ส่วนของห้องประชุมมีการปรับปรุงให้มีความสวยงามและดูสง่ามากขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2516 สำหรับการใช้งานในปัจจุบัน ชั้นล่างเป็นที่ทำการหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาลศิริราช เช่น งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสวัสดิการ ฯลฯ ชั้นบนเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเนื่องด้วยใช้เป็นห้องประชุมคณะฯ การบริหารงานทั้งหมดจะออกมาจากส่วนนี้ นอกจากใช้ประชุมประจำของคณะฯ ยังใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ อาทิ รับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ หากพิจารณาเรื่องการสร้างตึกหรืออาคารภายในโรงพยาบาลศิริราชจนเกิดประโยชน์นานัปการต่อประเทศชาติ ก็นับว่าเป็นโชคดีของประชาชนคนไทยทุกระดับชั้นที่มีความเจ็บป่วยต้องการการรักษา เพราะการก่อสร้างในสมัยนั้นเป็นของที่ดูยากยิ่งการที่สำเร็จลุล่วงมาได้ นั่นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ผู้ทรงเป็นประธานก่อสร้างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และความร่วมมือ น้ำพักน้ำแรงของเจ้าหน้าที่คณะฯ ในเวลานั้นทุกท่าน หนังสืออ้างอิง 1. 84 ปี ศิริราช 2. 120 ชิ้นเอก โรงพยาบาลศิริราช 3. การสร้างอาคารที่ศิริราชพยาบาล โดย พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (6 มี.ค. 2482) #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #วันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช #ศิริราช #26เมษา #ตึกในศิริราช #ตึกอำนวยการ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
วันนี้ (20 เม.ย. 59) พิพิธภัณฑ์ศิริราชได้ต้อนรับกลุ่มผู้เยี่ยมชมจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งเจ้าหน้าที่และนักเรียนทุน รวม 330 คน เนื่องด้วยสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้จัดกิจกรรม “เปิดประสบการณ์การเรียนรู้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ” ประจำปี 2559 ให้แก่นักเรียนทุนการศึกษาของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยการเยี่ยมชมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ฐานที่ 1-3 วิทยากรพาชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ในส่วนฐานสุดท้ายเป็นการทำกิจกรรม ณ โถงธนบุรี #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด
พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานได้รับรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปีของกทม.
ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือการแพทย์... แต่เรื่อง “ส้วม ส้วม” เราก็ไม่แพ้ใครนะเธอ ...ฟังไม่ผิดหรอกค่ะ วันนี้แอดมินจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับส้วมของพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานให้ฟังกันค่ะ วันนี้ (19 เม.ย. 59) พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานได้รับรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2559 โดยรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางผุสดี ตามไทเป็นประธานเปิดงาน มอบโล่และป้ายรางวัลให้แก่หน่วยงานที่ได้รับรางวัล ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยการประกวดแบ่งออกเป็น 12 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันและเชื้อเพลิง ตลาดสด ร้านอาหาร โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ สถานศึกษา สถานีขนส่ง ส้วมริมทาง และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานเป็นตัวแทนจากเขตบางกอกน้อย เข้าประกวดในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวและได้รับรางวัลชนะเลิศค่ะ เกณฑ์การประเมิน ใช้เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) และเกณฑ์การสรรหาสุดยอดส้วมแห่งปี ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ความสะอาด (Health : H) เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ พื้น ผนัง เพดานต้องสะอาด รวมถึงการจัดการให้มีการทำความสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น และมีระบบการควบคุมตรวจตราเป็นประจำ ความพอเพียง (Accessibility : A) เช่น ต้องจัดให้มีส้วมสำหรับผู้พิการ ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์ และพร้อมใช้ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ ความปลอดภัย (Safety : S) เช่น ที่ตั้งส้วมต้องไม่อยู่ในที่ลับตา แยกชาย-หญิงอย่างชัดเจน พื้นห้องส้วมแห้ง เป็นต้น ซึ่งพิพิธภัณฑ์ผ่านเกณฑ์และได้รับรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2559 ค่ะ ฟังเรื่องเกณฑ์ของส้วมมาเยอะแล้ว... เราไปดูภาพกันดีกว่าค่ะ ว่าสะอาด สวยงาม เหมาะสมกับที่ได้รับรางวัลหรือไม่ค่ะ #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #สุดยอดส้วมแห่งปี #กรุงเทพมหานคร
Timeline Photos
โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน ตลอดระยะเวลากว่า 128 ปีที่ผ่านมา “ศิริราช” เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่อยู่เคียงคู่คนไทยมาโดยตลอด ด้วยความมุ่งมั่นในพันธกิจที่จะให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ศิริราชจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาศักยภาพทางด้านบุคลากร และเทคโนโลยีการแพทย์ต่างๆ ให้ก้าวหน้า เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตที่ดี ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2424 เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้น 48 ตำบลทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นสถานที่รักษาคนไข้ หลังจากโรคสงบลง โรงพยาบาลก็หยุดทำการไป แต่ด้วยทรงตระหนักถึงประโยชน์ของโรงพยาบาลที่สามารถช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นเพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาล โดยขอแบ่งพื้นที่บริเวณวังของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ซึ่งเป็นที่หลวงร้างอยู่มาก่อสร้างและพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนแรกเริ่มในการดำเนินการ ในระหว่างที่เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรส ได้ประชวรด้วยโรคบิดสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.2430 ยังความเศร้าโศกแก่พระชนกชนนีเป็นยิ่งนัก จึงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มีโรงพยาบาลขึ้น ดังความในพระราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า “...ภายหลังเกิดวิบัติเคราะห์ร้าย ลูกซึ่งเป็นที่รักตายเป็นที่สลดใจด้วยการรักษาไข้เจ็บเห็นว่าแต่ลูกเราพิทักษ์รักษาเพียงนี้ยังได้ความทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรที่อนาถาทั้งปวงจะได้ความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใดยิ่งทำให้มีความปรารถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น…” ครั้นเสร็จงานพระเมรุแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ ในงาน นำไปสร้างอาคารโรงพยาบาลและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ให้แก่โรงพยาบาลอีกด้วย กระทั่ง วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดและพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งแรกนี้ว่า “โรงศิริราชพยาบาล”ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ หรือชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “โรงพยาบาลวังหลัง” โดยเปิดทำการรักษาผู้ป่วยทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณเป็นต้นมา... ดังนั้น ทุกๆ วันที่ 26 เมษายนของทุกปี จึงถือเป็นวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือในการพัฒนาศิริราชตลอดมา ถึงแม้วันนี้ “ศิริราช” จะมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีก 1 ปีแต่ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ทั้งด้านการรักษา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ยังคงดำเนินต่อไป... และพร้อมที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ ความเจริญก้าวหน้าของโรงพยาบาลศิริราชในวันนี้ มาพร้อมกับจำนวนของตึกหรืออาคารต่างๆ ที่ทันสมัยกว่า 60 ตึก ในพื้นที่ที่มีอยู่จำกัด เพื่อตอบสนองการใช้งานของบุคคลากรและของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ท่ามกลางตึกที่สูงใหญ่หลายตึก ศิริราชยังคงอนุรักษ์ตึกเก่า ที่อยู่คู่กับศิริราชมาตั้งแต่สมัยศิริราชเริ่มเข้าสู่ยุคปรับปรุง ตอนต่อไปเรามาติดตามกันว่ามีตึกอะไรบ้างที่ศิริราชยังคงอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงรากเหง้าความเป็นศิริราชทุกวันนี้ ..รับรองว่าประวัติและความเป็นมาของแต่ละตึกน่าสนใจมากค่ะ อ้างอิง - หนังสือ ศิริราชร้อยปี : ประวัติและวิวัฒนาการ #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #วันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช #ศิริราช #26เมษา
Timeline Photos
ร่วมฉลอง 128 ปี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน พิพิธภัณฑ์ศิริราชขอเป็นส่วนหนึ่งของพลังแห่ง “การให้” เพื่อมอบพลังแห่ง “ความสุข” โดยพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมเป็นพิเศษ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันอังคารที่ 26 เม.ย. นี้ ระหว่างเวลา 10.00 – 17.00 น. พร้อมรอบนำชมพิเศษ 2 รอบ เวลา 11.00 น. และ 14.00 น. ท่านใดสนใจเข้าชมสามารถติดต่อรับบัตรเข้าชมได้ที่ เคาน์เตอร์พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน และพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-419-2601 ...และเนื่องในวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราชปีนี้ … คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการให้ เพื่อสร้างความสุขได้เช่นกัน ร่วมบริจาคสบทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ได้ที่ “ศิริราชมูลนิธิ” ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.30 – 17.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 – 16.30 น. หรือบริจาคได้ที่กล่องบริจาคที่เคาน์เตอร์พิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 แห่งค่ะ #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด #ศิริราช #128ปี #โรงพยาบาลหลวงแห่งแรก #การให้ #ความสุข
Timeline Photos
วันนี้ พิพิธภัณฑ์ศิริราชเปิดให้บริการตามปกติแล้วนะคะ (ยกเว้นพิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน และพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียรยังคงปิดวันที่ 16-17 เม.ย. ค่ะ) ท่านใดที่่อยู่กรุงเทพฯ และยังไม่มีแผนจะไปไหน สามารถมาเที่ยวได้นะคะ การเดินทางก็มาได้ง่าย ๆ ค่ะ เรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นที่ท่ารถไฟ ส่วนเรือข้ามฟากขึ้นที่ท่าวังหลัง หรือนั่งรถประจำทางสาย 57 , 81 , 146 , 149 และ 157 ลงที่โรงพยาบาลศิริราชได้เลยค่ะ #พิพิธภัณฑ์ศิริราชมีมากกว่าที่คุณคิด
Photos from Siriraj Museum - พิพิธภัณฑ์ศิริราช's post
การวางศิลาฤกษ์ “อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา” “นวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา” เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับอาคารที่สูงถึง 25 ชั้น ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและเร่งจัดหาทุน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2556 และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ .... การวางศิลาฤกษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทางและพระแม่ธรณี รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสถานที่แห่งนั้น เพื่อแจ้งให้ท่านทราบว่าจะมีสิ่งก่อสร้างอันใด เพื่อความสุขและความเจริญของผู้อยู่อาศัย ..การประกอบพิธีบวงสรวงและวางแผ่นศิลาฤกษ์จะต้องทำก่อนตอกเสาเข็มต้นแรก ...แผ่นศิลาฤกษ์ เป็นแผ่นหินอ่อนที่สลักดวงฤกษ์ที่ดีที่สุดสำหรับการก่อสร้างในระยะนั้น ผู้ประกอบพิธีจะเป็นพราหมณ์ ส่วนสิ่งของที่ต้องจัดเตรียม นอกจากเครื่องสังเวยในพิธีแล้ว ยังมี “หลุมลอย” คือแท่นวางศิลาฤกษ์ เป็นแท่นปูนสีขาวสูง 99 ซม. กว้าง ยาว ประมาณ 79 x 79 ซม. ด้านในใส่ทรายละเอียดเกือบเต็ม รอบแท่นประดับดอกไม้สดหลากสีสวยงาม เมื่อถึงเวลาวางศิลาฤกษ์ คือเวลาอันเป็นมงคล ประธานในพิธีก็จะนำสิ่งของที่เป็นมงคลใส่ลงไปในหลุมลอย เช่น แผ่นเงิน แผ่นทอง อิฐทอง นาก เงิน ตลับนพรัตน์ ลูกกันพิษกันภัย ข้าวตอก เมล็ดถั่ว งาดำ ฯลฯ และมีไม้เข็มมงคล เป็นท่อนไม้ปลายแหลมยาวประมาณ 11 นิ้ว ทำจากไม้มงคล 9 ชนิด ได้แก่ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สักทอง ไผ่สีสุก พะยูง ทองหลาง กันเกรา ทรงบาดาล และขนุน โดยนำไม้ทั้ง 9 ตอกลงในหลุมลอยจนมิดทรายตามจุดที่กำหนดไว้ว่าต้องตอกไม้ชนิดไหนก่อนหลัง จากนั้นก็นำสิ่งของอื่นๆ ใส่ลงไป นำแผ่นศิลาฤกษ์ลงทับ เจิม ประพรมน้ำมนต์และโรยกลีบดอกไม้ในท้ายสุด...ซึ่งพิธีการวางศิลาฤกษ์ของ “อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้นำหลุมลอยลงฝังในหลุมดิน เนื่องจากในวันที่ทำพิธีนั้นไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะกำลังอยู่ในช่วงปรับหน้าดิน เมื่อทำพิธีวางศิลาฤกษ์เสร็จ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เก็บแท่นหลุมลอยไว้อย่างดี เมื่อการก่อสร้างฐานรากอาคารดำเนินไปอย่างเรียบร้อย และสามารถเข้าไปจัดพิธีข้างในได้ วานนี้ (11 เม.ย.2559) ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาเป็นประธานในพิธีอันเชิญหลุมลอยดังกล่าวลงในหลุมดินบริเวณฐานรากของอาคาร มีพิธีสงฆ์สวดมนต์ปัดเป่าสิ่งอัปมงคลออกจากพื้นที่ และสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลในตอนท้าย ท่านใดสนใจร่วมบริจาคสบทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ได้ที่ “ศิริราชมูลนิธิ” ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.30 – 17.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 – 16.30 น. หรือบริจาคได้ที่กล่องบริจาคที่เคาน์เตอร์พิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 แห่งค่ะ #ศิริราช #นวมินทรบพิตร๘๔พรรษา #การวางศิลาฤกษ์
Timeline Photos
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญร่วมทำบุญในงาน “ฉลอง 128 ปี ศิริราช เทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติ” สืบสานพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อ “อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา” ระหว่างวันที่ 26 – 29 เม.ย. 2559 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช และพบกิจกรรมมากมาย อาทิ... - ชมการแสดงลิเก ดนตรีพื้นบ้าน ฯลฯ ณ อุทยานสถานพิมุข ข้างหอประชุมราชแพทยาลัย 18.00 น. เป็นต้นไป - อุดหนุนของดี 50 เขต กทม. - รับบริการนวดแผนไทย - ชมสาธิตการทำบายศรี / ขนม / อาหาร ฯลฯ จากสำนักงานการอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 24 – 29 เม.ย. 2559 ณ โรงพยาบาลศิริราช สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์และกิจการพิเศษ โทร. 02-419-7646-84 #ศิริราช #128ปี #โรงพยาบาลหลวงแห่งแรก #การให้ #ความสุข
Thailand Boutique Awards
23 เม.ย.นี้ เรามีนัดกันนะ รู้ยัง..? กิจกรรม Thailand Boutique Awards Signature Workshop 2016 : เที่ยวสุโขทัยที่ไม่เหมือนเดิม เก๋...แต่ไม่เก่า วันเสาร์ที่ 23 เม.ย. 59 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ใครที่รักการถ่ายรูปและชอบประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาด !! ฟัง "ค้นหาและตามรอยพระร่วง สู่เส้นทางมรดกโลก" โดยกูรูไกด์เชี่ยวชาญมรดกโลกที่ UNESCO การันตี เรียนรู้ "ถ่ายภาพมรดกโลก" กับน้าปุ๊ย นภันต์ เสวิกุล ช่างภาพและนักเขียนผู้คร่ำหวอดในวงการท่องเที่ยว ฟรี! กิน ดื่ม เรียนรู้กิจกรรมต้นตำรับสุโขทัย แบบเก๋...แต่ไม่เก่า อาทิเช่น พิมพ์พระกับ "พรานบุญ" และสานปลาตะเพียนกับ "เลเจนด้ารีสอร์ท" งานนี้รับจำนวนจำกัดนะคะ ลงทะเบียนได้เลยที่ Facebook : Thailand Boutique Awards รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/signaturesukothai #พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน #ktc #ThailandBoutiqueAwards #เที่ยวสุโขทัยที่ไม่เหมือนเดิมเก๋แต่ไม่เก่า
PICTURES BY OTHER USERS ON INSTAGRAM
straykid69bangkok
Green day ☀️#bangkok
straykid69bangkok
around #bangkok
straykid69bangkok
walking through #bangkok
tawanta1018
ที่รักบีพาเที่ยวววว
punchskkkoomhcnup
หยุดน่ารักได้ไหม ใจฉันกำลังละลายย 💕💓💗💝 #koomhcnup
maherirvnbuilding,pier,museum,sky,bangkok,hospital,thailand,siriraj,chaopraya,stairs,temple
#temple #building #stairs #sky #siriraj #museum #hospital #pier #chaopraya #bangkok #thailand
maherirvnbangkok,chaopraya,thailand,siriraj,river,pier
📷 #chaopraya #river #pier #siriraj #bangkok #thailand
extrafreshhtrain
#train