มหานครแพร่รีส Phraeris Metropolis
Description
Tell your friends
RECENT FACEBOOK POSTS
facebook.comวันนี้เพื่อนของแอดมินมาแอ่วหาที่เมืองแป้ แอดเลยพาเพื่อนแอ่วแบบจัดเต็มสุดปิด เพื่อนเป็นคนเหนือเหมือนกันนี่แหละ แต่ไม่เคยแอ่วเมืองแพร่แบบจริงจัง มันบอก เมืองแป้แค่เอาไว้เป็นทางผ่าน อี้ว่ะ! ก่อนกลับมันฝากคำขวัญให้เมืองแป้บ้านเรา ดังนี้.. "หม้อฮ่อมเคมี โลงผีไม้สัก ทึกทักพระลอ ช่อแฮครูบาศรีฯ หนุ่มแพร่นี้สวยงาม" เอิ่ม! ปากบ่ออก ดึ้งไปกำนึง โทะโทะโถ บ้าาาาาวอกกก! บ้าฮ่าปันนนนต๋ายยย! ผีสิงงงง!
Timeline Photos
บทความ ..เงี้ยว คือไทยใหญ่ มีน้ำเงี้ยวอร่อย *************************************************************** กบฏเงี้ยวในล้านนาสมัย ร.5 มีเหตุจากปฏิรูปการปกครองรวบอำนาจสู่ส่วนกลางอย่างเบ็ดเสร็จ เท่ากับตัดอำนาจอดีตเจ้านายเมืองเอกราชในล้านนา เงี้ยว แปลว่า งู ความหมายเดียวกับ เงือก, งึม (แม่น้ำงึม ในลาว) หมายถึงไทยใหญ่ หรือฉาน อยู่ในพม่า พูดตระกูลภาษาไทย-ลาว เป็นชื่อที่คนลุ่มน้ำเจ้าพระยาสมัยก่อนเรียกไทยใหญ่อย่างเหยียดๆ แต่เกรงขาม [แต่ในอีสานมีความหมายเพิ่มว่า เงี้ยว คืองูมีขา ตัวสีแดงคล้ายจิ้งเหลน แต่เล็กกว่า โดยเรียกงูเงี้ยว, งูคา, งูเงี้ยวเสี้ยวกะปอม (สารานุกรมภาษาอีสานฯ ของ ปรีชา พิณทอง โรงพิมพ์ศิริธรรม อุบลราชธานี 2532)] ไทยใหญ่มีศูนย์กลางอยู่ตอนบนของพม่า ทางเหนือติดจีน ทางตะวันออกติดไทย แม่น้ำสาละวินไหลผ่าน [ชื่อแม่น้ำว่าสาละวินเป็นภาษาพม่า แต่ในตำนานล้านนาเรียกแม่น้ำคง คำเดียวกับของ, โขง มาจากคำมอญว่า โคลฺ้ง แปลว่า เส้นทางคมนาคม] ยุคกรุงเทพฯ เรียกไทยใหญ่ว่าลาวพุงดำ เพราะมีลายสักตั้งแต่เอวลงไปถึงขา พม่าเรียกไทยใหญ่ว่าฉาน หรือ ชาน เพี้ยนจากคำเดิมว่า สยาม ราวหลัง พ.ศ. 1700 พวกฉานหรือไทยใหญ่เคลื่อนย้ายหนีความขัดแย้งเป็น 2 ทาง คือ ไปตะวันตก ตั้งหลักแหล่งที่ลุ่มน้ำพรมบุตร รัฐอัสสัม ในอินเดีย คนไทยทั่วไปรู้จักในชื่อ อาหม (มาจากคำว่า สยาม) ไปตะวันออก ตั้งหลักแหล่งที่ลุ่มน้ำกก (จ.เชียงราย) ตำนานเรียกพวกสิงหนวัติ เป็นบรรพชนพระเจ้าพรหม ต่อมาเคลื่อนย้ายลงลุ่มน้ำน่าน-ยม เป็นประชากรรัฐสุโขทัย กุลา ในชื่อทุ่งกุลาร้องไห้ (ที่อีสาน) คือไทยใหญ่ เป็นพ่อค้าเร่จากพม่า "จูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" มีบันทึกเก่าสุดว่าเดินทางค้าขายถึงอีสานสมัย ร.3 ราว พ.ศ. 2390 ไพลิน ในชื่อบ่อพลอยไพลิน เมืองไพลิน จ. พระตะบอง ในกัมพูชา (ติดต่อ จ. จันทบุรี) มาจากชื่อในพม่าว่า เมืองเผ่ลิน เขตรัฐฉาน (ไทยใหญ่) เป็นบริเวณมั่งคั่งด้วยทับทิมและพลอย ชาวกัมพูชาที่เมืองไพลินเป็นกุลา ไทยใหญ่ มีศิลปวัฒนธรรมแบบไทยใหญ่ ทำพลอยส่งจันทบุรี กุลา จันทบุรี สมัย ร.5 ช่างเจียระไนพลอยเป็นกุลา ไทยใหญ่ มีในเอกสารชาวยุโรปที่เข้าไปกรุงเทพฯ เมื่อผู้มีอำนาจเผด็จการที่เมืองแพร่ ไม่ให้พูดชื่อกบฏเงี้ยว บางคนหงุดหงิดงุ่นง่าน แล้วบ่นว่ากูเลิกกินขนมจีนน้ำเงี้ยว ผมไม่งุ่นง่าน ไม่หงุดหงิด เพราะชิน (อยู่ดี) และชอบกินน้ำเงี้ยวแม่ชมพู อุรุดา ราดขนมจีน หรือราดข้าวสวยก็อร่อย กินน้ำเงี้ยวอย่างเดียวแบบเกาเหลาก็ได้ น้ำเงี้ยว คือน้ำยาราดขนมจีนในวัฒนธรรมไทยใหญ่ ประกอบด้วยหมูเป็นหลัก เช่น เนื้อ, กระดูก, เลือด, ฯลฯ น้ำเงี้ยว ขั้นเทพี ต้องฝีมือแม่ครัว ชมพู อุรุดา โควินท์ (เชียงราย) ปรุงเอง แล้วยกไปแบ่งปันให้ผมกินหลายครั้ง จนเสพติดไปแล้ว ลำขนาด ขอประกาศให้รู้ทั่วกัน **************************************************************** คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ จากเว็บไซต์ http://www.matichon.co.th
ประวัติ ความเป็นมา ประวัติเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประวัติ ความเป็นมา แผนที่ ระ�
#น่าสนใจมากครับ เหตุผลเพราะว่า จังหวัดแพร่ก็อ้างตำนาน ที่ว่าผู้คนเมืองแพร่ในอดีต อพยพมากับพ่อขุนหลวงพล มาจากเมืองไชยบุรีศรีช้างแสน มาตั้งเมืองในลุ่มน้ำยม ชื่อเมืองพล คือเมืองแพร่ในปัจจุบันครับ #สนใจก็ลองเข้าไปอ่านดูได้นะครับ
คนไทยมาจากไหน...? นับ 1-10 จีน 10 เผ่า
#กลุ่มชาติพันธุ์ไต เป็นชาติพันธุ์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต มีทั้งภาษา ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ที่สืบทอดกันมาเป็นพันๆปีจนปัจจุบัน เมืองที่เรารู้จักก็มีเยอะแยะ ทั้ง #เจียงตุง #เจียงแสน #เจียงรุ้ง #เจียงขืน #เจียงลา #เจียงใหม่ #เจียงฮาย #เวียงแพร่ #เวียงน่าน #เวียงจันทร์ #หลวงพระบาง #สุโขทัย #กำแพงเพชร #เวียงหนองล่ม ฯลฯอีกมากมายทั้งในไทยและเทศ สังเกตได้จากซากเมืองโบราณ และหลักฐานทางโบราณคดีมากมายที่ค้นพบ ยังมีเชื้อสายพี่น้องหมู่เฮา ที่ยังตกค้างอยู่ในต่างประเทศอีกมาก ทั้งจีน พม่า ลาว เวียดนาม เราคือพี่น้องผองเดียวกัน คือชาติพันธุ์ไต ลองมาฟังการนับเลข ของ10ชนเผ่าในจีนดูก็แล้วกัน ออกเสียงคล้ายๆคนภาคเหนือของไทย และคนไตในอีกหลายประเทศ ในคลิปมีชื่อว่า "คนไทยมาจากไหน" ประมาณว่าจะโน้มน้าว ว่าคนไทยอพยพมาจากจีนประมาณนั้น แต่ใช่หรือ มันยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงนักวิชาการ ช่างมันเถอะ มาดูคลิปกันดีกว่าเนอะ ป้าๆย่าๆยายๆน่ารักดีง่ะ <3 ^^
Timeline Photos
รู้เรื่องเมืองแพร่ : วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าถึงเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ของคนเมืองแพร่ครับ เมืองแพร่นั้นเดิมเป็นรัฐอิสระ ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ.๑๓๗๑ พญาพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพคนไตเขินหรือไตลื้อส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสนไชยบุรีและเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยมขนานนามว่า “เมืองพลนคร” ภายหลังชื่อเมืองพลได้เพี้ยนเปลี่ยนไปเป็นเมืองแพล และเปลี่ยนเป็นชื่อเมืองแพร่ดังปัจจุบัน นครแพร่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างสยามและล้านนา และก็ตั้งอยู่ระหว่างสยามกับพม่าอีกด้วย แพร่ยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งไม้สัก ข้าว ครั่ง แหล่งผลิตอาวุธโลหะ แหล่งพลอยสีน้ำเงิน(Blue Sapphire) แร่เหล็ก(Hematite) แร่วุลแฟรม(Wolframite) เป็นต้น ทำให้เมืองแพร่เป็นที่ต้องการของทั้งสยาม ล้านนา และพม่าในสมัยนั้น ชาติพันธุ์ของคนเมืองแพร่จึงมีหลากหลาย ทั้งคนที่อพยพมาสร้างบ้านแปงเมืองและผู้คนที่เข้ามาเพื่อค้าขาย ทำไม้สัก ทำพลอย ทำเหมืองแร่ ส่งผลให้เมืองแพร่มีศิลปะ วัฒนธรรม และภาษาพูดที่หลากหลายครับ ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมหนุ่มแพร่สาวแพร่ถึงหน้าตาดี มีผิวพรรณขาวดวงตาโตบ้างตาตี่บ้างจมูกโด่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะชาติพันธุ์คนแพร่มีทั้งไตลื้อไตเขินไตใหญ่ไตโยนไตพวนและพม่า ซึ่งชาติพันธุ์เหล่านี้มีผิวขาว บ้างตาโตบ้างตาสองชั้นเล็กๆ ตัวอย่างเช่น ๑.กลุ่มชาติพันธุ์เจ้านายในเวียงแพลจะเป็นไตเขินเก่าและไตโยน(เป็นผู้ครองเวียงและบริหารบ้านเมือง พูดสำเนียงแพร่) ๒.กลุ่มชาติพันธุ์ไตใหญ่และพม่าอยู่แถววัดจองเหนือ(วัดจอมสวรรค์)จองกลาง(วัดสระบ่อแก้ว)จองใต้(วัดต้นธง)(มีความสามารถในการทำป่าไม้และเหมืองแร่)และแถวบ้านเหมืองหม้อบ้านร่องฟองบ้านหนองห้า(มีความสามารถด้านศิลปะทำโลหะอาวุธหอกดาบและมีด พูดสำเนียงเหน่อและท้ายคำมีหางเสียงหรือสร้อยคำ) ๓.ชาติพันธุ์ไตลื้อที่อพยพมาช่วงหลังจะอยู่ที่หมู่บ้านถิ่นบ้านโป่งศรี(มีความสามารถด้านศิลปะทำเครื่องเงิน พูดสำเนียงลื้อ) ส่วนชาติพันธุ์ไพพวนหรือไตภูเขาหรือภูไทจะอยู่ที่บ้านทุ่งโฮ้งบ้านทุ่งป่าดำ(สวมใส่เสื้อผ้าสีดำ+แดงหรือครามเข้ม+แดง พูดสำเนียงไตพวน) คนแพร่ถึงได้ผิวพรรณดีขาวผ่อง แต่ถ้าเห็นคนแพร่ที่มีผิวดำในสมัยก่อนจะเป็นพวกขมุครับ ซึ่งอาศัยอยู่กระจัดกระจายเบาบาง ถ้าลูกใครเกิดมาดำไม่เหมือนพ่อเหมือนแม่ก็จะโดนล้อว่าเป็นลูกขมุครับ เป็นเรื่องโจ๊กเรื่องตลกกันไป ยุคหลังก็มีการย้ายเข้ามาอาศัยของกลุ่มคนจีน แขก และพวกที่มาเผยแพร่คริสตศาสนา แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนก็ถือว่าเป็นคนแพร่ ได้อาศัยในเมืองแพร่ เกิดในเมืองแพร่ ได้อาบได้ดื่มน้ำที่ตักที่สูบมาจากในดินเมืองแพร่ ได้กินข้าวนึ่งผักไม้ที่ปลูกบนผืนแผ่นดินเมืองแพร่ ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นพี่เป็นน้องเป็นคนเมืองแพร่ด้วยกันทั้งนั้นครับ ตัวผู้เขียนเองก็เป็นคนแพร่ และสำนึกในบุญคุณของบรรพชนทุกคนที่ได้ทำให้ลูกหลานมีได้จนถึงทุกวันนี้ ขอให้ทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านบทความ จงภูมิใจที่ได้ย่ำเท้าอยู่บนผืนแผ่นดินเมืองแพร่ที่ทรงคุณค่านี้ครับ เขียนโดย : สิงหนวัติวงศ์
Timeline Photos
รู้เรื่องเมืองแพร่ : วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับชื่อสกุลต่างๆของคนเมืองแพร่ครับ ส่วนใหญ่นั้นการตั้งชื่อสกุลของคนโบราณมักจะตั้งตามชื่อหรือคำเรียกของถิ่นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มนั้น ส่วนชนชั้นสูงจะนิยมตั้งสกุลตามเชื้อสายวงศ์เก่าของบรรพบุรุษ ซึ่งการตั้งนามสกุลพึ่งเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชการที่6เท่านั้น ก่อนหน้านี้คนเมืองแพร่ใช้การนำเอาคำสร้อยมาไว้หลังชื่อเพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร เช่น ย่าแสงกิ้งลิ่ง ปู่สิงหม่าตัน ย่าจั๋นมอย ปู่หน้อยโย้ง ย่าคำขี้เค้ว(เขี้ยว) ปู่เขว(เขียว)ขี้โว เป็นต้น นามสกุลนั้นได้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่6หลังจากที่นครแพร่ได้รวมเข้ากับสยามไปแล้วเพียงไม่นานนัก ภาษากลางกับนามสกุลจึงเป็นเรื่องแปลกใหม่มากสำหรับคนเมืองแพร่ในยุคนั้น ตัวอย่างเชื้อสายสกุลเจ้า เช่น สกุลเทพวงศ์ สกุลวังหน้า สกุลแพร่พันธุ์ เป็นต้น ส่วนเชื้อสายกลุ่มชนในแพร่นั้นมีหลากหลายมากครับ ทั้งไทยใหญ่ ไทลื้อ ไทยพวน ไทยวน(โยนก) ส่วนใหญ่จะตั้งตามชื่อหมู่บ้านหรือถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ตัวอย่างเช่น ๑.สกุลหงส์เก้า สกุลหงส์สิบหก และสกุลปราบหงส์ เป็นสกุลของคนบ้านวังหงส์ ๒.สกุลเหมืองอุ่น สกุลสอนอุ่น และสกุลมาอุ่น เป็นสกุลของคนบ้านเหมืองหม้อ ซึ่งเหมืองหม้อเป็นชื่อที่มาจากแม่น้ำที่มีลักษณะน้ำอุ่นตลอดเวลาเหมือนน้ำในหม้อครับ ๓.สกุลใจโฮ้ง สกุลมะโนโฮ้ง และสกุลโฮ้งจิก เป็นสกุลของคนบ้านทุ่งโฮ้งและร่องฟอง(ร่องฟองเคยถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในตำบลทุ่งโฮ้งแต่ปัจจุบันเป็นตำบลร่องฟองแล้ว) ๔.สกุลเวียงทอง สกุลผาทอง และสกุลคำมาก(คำในภาษาเหนือแปลว่าทอง) เป็นสกุลของคนบ้านเวียงทอง เป็นต้นครับ ในความหลากหลายของเชื้อชาติและสกุลของคนแพร่ก็ไม่ได้ทำให้ความเป็นคนแพร่นั้นเสื่อมคลาย ได้ขึ้นชื่อว่าเกิดเป็นคนแพร่แล้วก็ย่อมเป็นเหมือนพี่เหมือนน้องกัน คนแพร่ก็ยังรักยังเอื้อเฟื้อน้ำใจไมตรีให้แก่กันและกันเสมอมา เป็นเสน่ห์ของคนแพร่อย่างหนึ่งครับ ดังเช่นคำขวัญที่ว่า"คนแพร่นี้ใจงาม" เขียนโดย : สิงหนวัติวงศ์
Quiz
